วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ยินดีต้อนรับ Web Blog กีฬาบาสเกตบอลโดย นางสาววรรัตน์ รัตนกูล




ประวัติกีฬาบาสเกตบอล

ประวัติบาสเกตบอลในเอเซีย ( History of Basketball in Asia)
ในบรรดานักศึกษาวิทยาลัยสปริงฟิล (Springfield College) ที่เล่นบาสเกตบอลในเกมแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2434 มี 5 คน กลับคืนบ้านเกิด ได้แก่1) ประเทศแคนาดา (Canada)2) ประเทศญี่ปุ่น (Japan)3) ประเทศจีน (China)4) ประเทศอินเดีย (India)ใน ประเทศญี่ปุ่น (Japan) เกนซาบุโร เอส อิชิคาวา ( Genzaburo S.Ishikawa ) ได้เดินทางกลับประเทศและเป็นผู้นำกีฬาบาสเกตบอลเข้าไปเผ่ยแพร่พ.ศ. 2443 มีนักศึกษาอีกคนหนึ่งที่จบจากมหาวิทยาลัยสปิงฟิล คือ ไฮโอโซ โอโมริ ( Hyoso Omori ) ได้รับเกียรติว่าเป็นบุคคลแรกที่จัดให้มีเกมบาสเกตบอลที่เป็นทางการ ณ ที่ทำการของวาย.เอ็ม.ซี.เอ.แห่งโตเกียว ( Y.M.C.A. of Tokyo ) และได้เป็นผู้อำนวยการพลศึกษาคนแรกของ วาย.เอ็ม.ซี.เอ.พ.ศ. 2466
กติกา
การหมุนตัว การหมุนตัวจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นที่กำลังถือลูกบอลก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งเพียงเท้าเดียว 1 ก้าว หรือหลายๆ ก้าวในทิศทางต่างๆ โดยเท้าอีกข้างหนึ่งจะเป็นเท้าหลัก (หรือเท้าหมุน) ซึ่งยังคงสัมผัสพื้น ณ จุดที่ตนยืนอยู่นั้น

การเคลื่อนที่พร้อมกับลูกบอล ผู้เล่นอาจจะเคลื่อนที่พร้อมกับลูกบอลไปในทิศทางใดก็ได้ ภายใต้ระเบียบต่อไปนี้ ระเบียบข้อที่ 1 ผู้เล่นที่ได้รับลูกบอลขณะที่ยืนอยู่นิ่ง ๆ อาจจะหมุนตัวโดยเท้าใดเท้าหนึ่งเป็นเท้าหลักก็ได้ ระเบียบข้อที่ 2 ผู้เล่นที่ได้รับลูกบอลขณะที่ตนเองกำลังเคลื่อนที่ หรือเมื่อสิ้นสุดการเลี้ยงลูกบอล อาจจะใช้การนับสองจังหวะเพื่อ หยุด หรือเพื่อส่งลูกบอลให้พ้นจากตัวไป


การนับจังหวะที่หนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อ 1. เมื่อผู้เล่นได้ลูกบอล ถ้าเท้าใดเท้าหนึ่งถูกพื้นสนามในตอนที่ได้รับลูกบอล หรือ 2. เมื่อเท้าใดเท้าหนึ่ง หรือทั้งสองเท้าถูกพื้นสนามพร้อมกัน ภายหลังจากผู้เล่นได้รับลูกบอล ขณะที่เท้าทั้งสองข้างของผู้เล่นไม่ถูกพื้น (เท้าพ้นพื้น เช่น ลอยตัวในอากาศ)


การนับจังหวะที่สอง จะเกิดขึ้นภายหลังจากการนับจังหวะที่หนึ่งแล้ว เมื่อเท้าใดเท้าหนึ่งหรือทั้งสองเท้าถูกพื้นสนามพร้อม ๆ กัน ผู้เล่นที่ได้หยุดในจังหวะที่หนึ่งของการนับช่วงจังหวะ จะไม่มีสิทธิ์เคลื่อนที่ต่อในจังหวะที่สอง เมื่อผู้เล่นได้หยุดตามกติกาแล้ว ถ้าเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ล้ำหน้ากัน ก็อาจจะหมุนตัวได้ แต่เท้าหลังเท่านั้นที่จะเป็นเท้าหลัก อย่างไรก็ตาม ถ้าเท้าทั้งสองอยู่ในแนวเดียวกัน อาจจะใช้เท้าใดเท้าหนึ่งเป็นเท้าหลักในการหมุน ระเบียบข้อที่ 3 ผู้เล่นที่ได้รับลูกบอลขณะที่ยืนนิ่ง ๆ หรือได้หยุดตามกติกาขณะที่ถูกลูกบอล 1. อาจจะยกเท้าหลักหรือกระโดดขึ้นเพื่อยิงประตู หรือส่งลูกบอล แต่ลูกบอลจะต้องหลุดจากมือก่อนเท้าที่ยกพ้นพื้นหรือทั้งสองเท้าถูกพื้นสนามอีกครั้งหนึ่งถึงแม้ว่า ผู้เล่น ฝ่าย ปก ป้อง กัน จะถูกลูกบอลด้วยมือใดมือหนึ่ง หรือทั้งสองมือก็ตาม ถ้ามือที่จับลูกบอลนั้นยึดลูกบอลแน่นจนไม่มีใครจะได้ครอบครองลูกบอลโดยปราศจากความรุนแรง ผู้ตัดสินต้องขานลูกยึด หรือ 2. ไม่อาจจะยกเท้าหลัก เมื่อเริ่มต้นการเลี้ยงลูกบอลก่อนที่ลูกบอลจะหลุดจากมือการเคลื่อนที่พร้อมกับลูกบอลนอกเหนือจาก กติกา เหล่า นี้ เป็น การทำผิดระเบียบ


บทลงโทษ ให้คู่แข่งขันได้ส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกเส้นข้าง ณ จุดที่ใกล้กับการทำผิดกติกามากที่สุด
ลูกยึด ผู้ตัดสินไม่ควรขานลูกยึดเร็วเกินไป ซึ่งจะทำให้การแข่งขันหยุดชะงัก และทำให้ขาดความยุติธรรมที่ผู้เล่นต้องเสียลูกบอลที่ตนกำลังครอบครอง หรือกำลังจะได้ครอบครอง ผู้ตัดสินจะขานลูกยึดก็ต่อเมื่อมีผู้เล่นอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนยึดลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือไว ้อย่าง มั่น คง จนกระทั่งไม่มีผู้เล่นคนใดสามารถจะครอบครองลูกบอลได้โดยปราศจากความรุนแรง และไม่ควรขานลูกยึดโดยเพียงพิจารณาจากเหตุผลที่ว่า ฝ่ายป้องกันได้ใช้มือสัมผัสลูกบอลเท่านั้น การขานในลักษณะเช่นนี้จะไม่ยุติธรรมต่อผู้เล่นที่ได้ครอบครองลูกบอลอย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว
การเล่นลูกกระโดด จะเกิดขึ้นเมื่อ 1. เมื่อมีการขานลูกยึด ถ้ามีผู้เล่นมากกว่า 2 คน เกี่ยวข้องให้โยนลูกบอลเพื่อเล่นลูกกระโดดระหว่างผู้เล่นดังกล่าวฝ่ายละคนที่มีความสูงใกล้เคียงกัน 2. ถ้าลูกบอลออกนอกเขตสนาม และผู้เล่นทั้งสองฝ่ายถูกลูกบอลพร้อมๆ กัน ก่อนที่ลูกบอลจะออกนอกเขตสนาม หรือถ้าผู้ตัดสินไม่แน่ใจว่าใครถูกลูกบอลเป็นคนสุดท้าย หรือผู้ตัดสินขัดแย้งกันเอง ก็ให้ดำเนินการเล่นต่อไปด้วยลูกกระโดดระหว่างผู้เล่นสองคนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ณ วงกลมที่ใกล้ที่สุด 3. เมื่อลูกบอลติดค้างที่ก้านห่วง ให้ดำเนินการเล่นต่อไปด้วยลูกกระโดดที่เส้นโยนโทษที่ใกล้ที่สุดระหว่างผู้เล่นสองคนใดก็ได้จากทั้ง สองฝ่าย ผู้เล่นอยู่ในลักษณะการยิงประตู เมื่อผู้ตัดสินได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้เล่นคนนั้นได้เริ่มพยายามที่จะทำประตูโดยการโยนยังห่วงหรือ ปัด ลูกบอล และลักษณะความพยายามนี้จะต้องต่อเนื่องจนกระทั่งลูกบอลได้หลุดมือเขาไป

ข้อยกเว้น ผู้เล่นที่ปัดลูกบอลจากการเล่นลูกกระโดดให้ตรงไปยังห่วงประตู ไม่ใช่อยู่ในลักษณะการยิงประตู

คำนิยาม การโยน การยัดห่วง และการปัดลูกบอล การโยน คือการถือลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือ แล้วส่งแรงให้ลูกบอลลอยไปยังห่วงประตู การยัดห่วง คือการออกแรง หรือความพยายามที่จะออกแรงยัดลูกบอลลงห่วงประตูด้วยมือเดียวหรือสองมือ การปัดลูกบอล คือการตีลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือให้ไปยังห่วงประตู
ผู้เล่นอยู่ในลักษณะยิงประตู สำหรับการฟาวล์ที่กระทำต่อผู้เล่นที่อยู่ในลักษณะการยิงประตู ผู้ตัดสินพึงพิจารณาว่าการฟาวล์ที่เกิดขึ้นนั้น ได้เกิดขึ้นภายหลังที่ผู้ยิงประตูได้เริ่มต้นการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องของแขน (ข้างเดียวหรือสองข้าง) เพื่อการยิงประตู
การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง คือ 1. เริ่มต้นภายหลังที่ลูกบอลได้พักอยู่ในมือ (มือเดียวหรือสองมือ) ของผู้เล่น และเริ่มต้นเคลื่อนที่เพื่อยิงประตู 2. อาจจะรวมทั้งการเคลื่อนไหวของแขน (ข้างเดียวหรือสองข้าง) และ / หรือลำตัวที่ผู้เล่นได้พยายามเพื่อยิงประ ตู
กติกาว่าด้วย 3 วินาที ผู้เล่นจะต้องไม่อยู่ภายในเขตกำหนดเวลาของคู่แข่งขันต่อเนื่องกันเกินกว่า 3 วินาที เขตนี้อยู่ระหว่างเส้นหลังและขอบนอกของเส้นโยนโทษ ในขณะที่ทีมของตนกำลังครอบครองลูกบอล กติกาว่าด้วย 3 วินาที จะใช้บังคับทุกกรณี เช่น ลูกบอลออกนอกเขตสนาม จะเริ่มการนับเวลาตั้งแต่งผู้เล่นจะส่งบอลเข้า เล่นได้ยืนอยู่นอกสนามและมีลูกบอลอยู่ในครอบครอง ซึ่งกติกาทั้งหมดเกี่ยวกับการสิ้นสุดเวลาของการแข่งขันจะถูกบังคับใช้ เกี่ยว กับ การทำผิดกติกาว่าด้วย 30 วินาที
ข้อเสนอแนะ การที่คู่แข่งขันเพียงแต่สัมผัสลูกบอล จะไม่ทำให้ต้องเริ่มเวลา 30 วินาทีใหม่ ถ้าทีมเดิมยังคงได้ครอบครองลูกบอลต่อไป

ลูกบอลกลับสู่แดนหลัง ผู้เล่นที่ทีมของตนได้ครอบครองลูกบอลในแดนหน้า ต้องไม่ทำให้ลูกบอลกลับสู่แดนหลังของตน นอกจากลูกบอลจะถูกทำให้กลับสู่แดนหลังโดยผู้เล่นคนสุดท้ายของทีาที่ได้ครอบครองลูกบอล ได้ถูกก่อนที่ลูกบอลจะกลับสู่แดนหลัง ระเบียบนี้บังคับใช้กับทุกกรณีที่เกิดขึ้นในแดนหน้าของทีม รวมทั้งการส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกเขตสนามด้วย อย่างไรก็ตาม จะไม่รวมไปถึงการส่งลูกบอลเข้าเล่นจากกึ่งกลางสนามที่เส้นข้าง ลูกบอลกลับสู่แดนหลังของทีม เมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นในทีมเดียวกันซึ่งมีส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายสัมผัสกับเส้นกลาง หรือพื้นสนามต่ำกว่าเส้นกลาง หรือผู้เล่นของทีมนั้นได้ถูกลูกบอลเป็นคนแรกภายหลังจากที่ลูกบอลถูกพื้นสนามในแดนหลัง


บทลงโทษ ให้คู่แข่งขันได้ส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกเขตสนามตรงกึ่งกลางเส้นข้างโดยผู้ส่งต้องยืนคร่อมเส้น กลางที่ ี่ยื่น ออก นอก เขต สนาม และมีสิทธิ์ที่จะส่งลูกบอลไปยังผู้เล่น ณ จุดใดก็ได้ในสนามแข่งขัน


ข้อเสนอแนะ ผู้เล่นที่อยู่ในแดนหน้า และได้รับครอบครองลูกบอลโดยตรงจากการเล่นลูกกระโดดที่วงกลมกลางสนาม ไม่สามารถจะส่งลูกบอลหรือเลี้ยงลูกบอลกลับสู่แดนหลัง
ข้อยกเว้น จะไม่เป็นการทำผิดกติกา เมื่อมีการเล่นลูกกระโดดที่วงกลมกลาง ผู้เล่นได้กระโดดจากแดนหน้าไปครอบครองลูกบอลในอากาศโดยตรงจากการเล่นลูกกระโดด และลงสู่พื้นสนามในแดนหลังด้วยเท้าเดียว หรือทั้งสองเท้า

คำอธิบายกติกา ลูกบอลกลับสู่แดนหลัง ภายใต้กติกาข้อนี้ " ขณะเล่นลูกกระโดดที่วงกลมกลาง ผู้เล่นอาจจะกระโดดจากแดนหน้าของตนเพื่อครอบครองลูกบอลที่ยังอยู่ในอากาศ และลงสู่พื้นสนามในแดนหลังด้วยเท้าเดียวหรือสองเท้า ก็ได้ " เพื่ออธิบายสถานการณ์ให้แจ่มชัด ยิ่งขึ้น ฉะนั้น 1. ถ้าผู้เล่นลงสู่พื้นสนามด้วยสองเท้า อาจจะส่งลูกบอลหรือเลี้ยงลูกบอลในแดนหลัง 2. ถ้าผูเล่นลงสู่พื้นสนามด้วยเท้าหนึ่งในแดนหลัง และอีกเท้าหนึ่งในแดนหน้า (คร่อมเส้นกลาง) จะไม่อนุญาตให้ทำสิ่งต่อไปนี้ 2.1 ยกเท้าที่อยู่ในแดนหน้า 2.2 เลี้ยงลูกบอลในแดนหลัง 2.3 ส่งลูกบอลไปให้เพื่อนร่วมทีมในแดนหลัง

การทำผิดระเบียบ การทำผิดระเบียบ คือการทำผิดกติกา ซึ่งบทลงโทษคือเสียสิทธิ์การครอบครองลูกบอล
การทำฟาวล์การฟาวล์ คือการทำผิดกติกา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการถูกต้องตัวกัน (ปะทะกัน) กับคู่แข่งขัน หรือแสดงมารยาทที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา ทั้งนี้จะถูกขานต่อผู้กระทำผิดและถูกลงโทษตามที่ระบุไว้ในกติกาที่เกี่ยวข้อง















สนามแข่งขัน
สนามต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นผิวเรียบ แข็ง ปราศจากสิ่งกีดขวางขนาดสนามตามมาตรฐานของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (FIBA) ต้องยาว 28 เมตร กว้าง 15 เมตร โดยวัดจากขอบในของเส้นสนาม
สำหรับขนาดสนามที่เล็กที่สุดที่ใช้ในการแข่งขันได้ คือ ยาว 26 เมตร กว้าง 14 เมตร กรณีเป็นสนามในร่ม ความสูงของเพดาน หรือสิ่งกีดขวางต้องไม่ต่ำกว่า 7 เมตร














ประโยชน์ของบาสเกตบอล

กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาที่ทำให้ผู้เล่นได้รับประโยชน์ดังนี้๑. ช่วยพัฒนาส่งเสริมสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคมแก่บุคคล๒. ช่วยพัฒนาส่งเสริมกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกาย (motor skills) ให้ทำงานประสานกันดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นมือ เท้า สายตาให้เคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง๓. เป็นกิจกรรมนันทนาการสำหรับพักผ่อน คลายความตึงเครียด แก่ผู้เล่นและผู้ชม๔. ช่วยฝึกการตัดสินใจ และรู้จักคิดแก้ปัญหา ตลอดจนมีสมาธิที่ดี๕. ช่วยฝึกให้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ และรู้จักให้อภัย๖. ใช้เป็นสื่อนำในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและส่วนรวม๗. ใช้เป็นสื่อนำในการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา








ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Web Blog กีฬา โดย นางสาววรรัตน์

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Web Blog กีฬา โดย นางสาววรรัตน์